กระชายดำ อายุวัฒนะ

Last updated: 30 ส.ค. 2561  |  1390 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กระชายดำ อายุวัฒนะ

     มีลักษณะเหง้าคล้ายขิง แต่เนื้อในมีสีออกม่วงดำ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ กระชาย ข่า ขิง และขมิ้น สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ

     กระชายดำสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

     โดยพิจารณาจากสีของเนื้อในเหง้า ได้แก่ กลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วงม่วงเข้มจนถึงม่วงดำ และกลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยมกระชายดำมีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้ม ซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดีถ้าเนื้อเป็นสีม่วงอ่อนจะถูกคัดไปเป็นกระชายม่วง ซึ่งเชื่อว่าคุณภาพด้อยกว่าเหง้า มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และมีรสชาติขมเล็กน้อย
     ในเหง้ากระชายดำ ประกอบด้วยสารสำคัญต่างๆ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-cyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) โดยส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้มจะมีปริมาณสารฟีนอลิกรวม และสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง

     สรรพคุณในตำรายาไทยของกระชายดำ

     ระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงร่างกาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
     ใช้เป็นยาบำรุงกำลังช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย หากสุภาพสตรีรับประทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ
     บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง บำรุงโลหิต แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี และแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
     ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ รักษาโรคความดันโลหิต ช่วยในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น
     ช่วยทำให้เจริญอาหารลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ช่วยแก้หอบหืด แก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิวแก้ลมวิงเวียน
     มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลมแก้อาการจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ
     ช่วยแก้อาการปวดหลังโรคปวดข้อ ช่วยแก้อาการเหน็บชา ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้าช่วยขับพิษต่างๆในร่างกาย
     มีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน

     จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับฤทธิ์ทางชีวภาพ และเภสัชวิทยาของกระชายดำที่สนับสนุนสรรพคุณพบว่า
     - สารสกัดกระชายดำด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ
     - มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ( สาร 5,7-DMF ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดํา) ต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง
     - มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย
     - มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ ลดการหดเกร็งของลำไส้เล็ก และยังช่วยยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
     สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-cyanins) เป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์
     ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนชะลอความเสื่อมของดวงตาช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค
     สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพสามารถการป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็ง
     สำหรับการการใช้แบบพื้นบ้านนิยมทำเป็นยาลูกกลอนโดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนหรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง
     นอกจากนั้นในสมัยโบราณมีการบันทึกถึงการใช้ว่านกระชายดำในทางคงกระพันชาตรีต่อต้านศาสตราวุธและแคล้วคลาดจากคมหอกคมดาบได้เป็นอย่างดี  
     เป็นว่านมหามงคลมีเมตตามหานิยมถ้าปลูกไว้หน้าบ้าน
     ในปัจจุบันนี้จะพบเห็นผลิตภัณฑ์ของกระชายดำวางจำหน่ายในท้องตลาดในหลากหลายรูปแบบ เช่น กระชายดําผงชาชงยาแคปซูล ยาน้ำ ยาเม็ด กาแฟลูกอม และไวน์ เป็นต้น
     กระชายดำจะให้หัวหรือเหง้าที่มีคุณภาพ ต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

คัดเลือกวัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาติและสารสกัดจากธรรมชาติแท้คงคุณค่า โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรพืชสมุนไพรโดยตรง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
บริษัท เนเจอร์ อโกร โปรดักซ์ จำกัด

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/374/กระชายดำ/
https://medthai.com/กระชายดำ/
https://www.honestdocs.co/what-is-flavonoid
https://writer.dek-d.com/plang-za/story/viewlongc.php?id=331842&chapter=107