การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาติ

Last updated: 14 ส.ค. 2561  |  5238 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาติ

การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาติ

เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.พืชและสมุนไพรแห้ง(Dried Botanical & Herb)
2.สารสกัดจากพืชและสมุนไพร(Botanical & Herbal Extract)

ผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำเอาสมุนไพรธรรมชาติมาใช้ก็คือ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อสุขภาพและการฟื้นฟู (Dietary Supplements Product)
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรธรรมชาติ (Herbal Cosmetics)

สำหรับผู้สนใจในการทำผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรธรรมชาติ ควรมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของกระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีความปลอดภัยของในทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงความรู้และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย และที่สำคัญก็คือการมีจรรยาบรรณในด้านการรับผิดชอบต่อสังคม

เพราะในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ จากพืชสมุนไพรเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัยสูงแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากสารเคมี

กลุ่มผู้บริโภคมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าในอดีต สามารถค้นหาข้อมูลและข่าวสารของผลิตภัณฑ์ต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสียรวมถึงการเปรียบเทียบคุณภาพและราคาได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจในการทำผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรธรรมชาติ จึงควรที่จะต้องคำนึงถึงคุณภาพ การคัดสรรวัตถุดิบ สูตรการผลิต และสรรพคุณทางยาที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกวัตถุดิบสมุนไพรที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาตินั้น มีหลายลักษณะด้วยกัน อาทิเช่น

1.กระบวนทำให้แห้ง (Dried)
-โดยวิธีนำมาตากแดดโดยตรง(Sun Drying)ซึ่งวิธีการนี้ในสมุนไพรบางชนิดอาจมีคุณภาพด้อยลงหรือนำมาตากแดดตากแดดภายในโรงเรือนที่มีมุ้งคลุม (Shade Drying)
-นำมาอบแห้งด้วยแหล่งพลังงานไฟฟ้า (Artificial heat) โดยใช้เครื่องอบแห้ง ซึ่งวิธีนี้ทำให้สมุนไพรแห้งได้ดีกว่าการตากแดด
-การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งโดยเครื่อง Freeze Dry วิธีนี้สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรจะคงสรรพคุณได้ดีกว่าและมีคุณภาพสูง

2.การบดเป็นผงแห้ง (Powder)
ซึ่งเป็นการแตกแยกเนื้อเยื่อให้มีขนาดเล็กลง ช่วยให้สารสะกัดได้ผลดีขึ้น
-นำมาบดด้วยครกบดยาหรือเครื่องบดไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้โดยตรงหรือเป็นส่วนผสม

3.การสกัด (Herbal Extract)
คือการแยกสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรธรรมชาติ
-โดยใช้ตัวทำละลาย ซึ่งจะต้องมีความรู้และความเข้าในคุณสมบัติของสารสำคัญพืชสมุนไพรที่มีความแตกต่างในแต่ละชนิด เช่นสารมีขั้ว(ละลายนำ้)สารกึ่งมีขั้ว (ละลายแอลกอฮอล์)
หรือสารไม่มีขั้ว (ไม่ละลายนำ้) ประเภทนำ้มันหอมระเหย
-การต้ม (Herbal Decocation) เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรธรรมชาติ
โดยมีนำ้และความร้อนเป็นตัวทำละลาย เป็นต้น

จากกระบวนการดังกล่าว ผู้สนใจในการทำผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรธรรมชาตินั้นจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่า
“วัตถุดิบสมุนไพรธรรมชาติมีคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์และสรรพคุณที่แตกต่างกันตามชนิดของสมุนไพร”
ควรศึกษาให้เข้าใจและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงเพื่อง่ายต่อการคัดเลือกคุณค่าจากธรรมชาติ เพื่อคงคุณค่าของธรรมชาติอย่างแท้จริง